• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

ซีพีเอฟ ส่งมอบนโยบายจัดหาและแนวปฏิบัติแก่คู่ค้า มุ่งสร้างความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน


17 เมษายน 2558

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เดินหน้าส่งมอบนโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้าธุรกิจ โดยจะนำร่องในคู่ค้าธุรกิจหลัก (Critical Supplier) 3 กลุ่ม คือ กลุ่มวัตถุดิบหลักทางการเกษตร กลุ่มเครื่องปรุง และกลุ่มบรรจุภัณฑ์กว่า 200 ราย เพื่อร่วมกันพัฒนาศักยภาพ ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน และมีส่วนร่วมดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัทและ คู่ค้าธุรกิจให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง อันจะนำไปสู่การเติบโตในระยะยาวมุ่งสู่ความยั่งยืน โดยตั้งเป้าหมายตรวจประเมินคู่ค้าธุรกิจหลักได้ครบ 100% ภายในปี 2562

นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน กล่าวว่า ซีพีเอฟ ตระหนักดีว่า “คู่ค้าธุรกิจ” คือ ห่วงโซ่สำคัญของความสำเร็จที่มั่นคงและยั่งยืนในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพในด้านคุณค่า รสชาติ และความปลอดภัย สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ บนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบตลอดกระบวนการดำเนินธุรกิจของบริษัทและคู่ค้าธุรกิจ ด้วยเหตุนี้ จึงได้กำหนดนโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้าธุรกิจ เพื่อส่งเสริมกระบวนการดำเนินธุรกิจของบริษัทและคู่ค้าธุรกิจให้มีความสอดคล้องตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยพัฒนาศักยภาพ ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน และเสริมสร้างการเติบโตในระยะยาวไปด้วยกัน ตลอดจนเป็นโอกาสให้บริษัทและคู่ค้าธุรกิจมีส่วนร่วมปรับปรุงและพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยภาพรวม

สำหรับนโยบายและแนวปฏิบัติดังกล่าว ครอบคลุม 4 ด้านสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ (Product and Service) ให้ความสำคัญและใส่ใจอย่างยิ่งในเรื่อง “คุณภาพและความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อาหาร” เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญต้นทางก่อนส่งมอบผลิตภัณฑ์สู่ผู้บริโภค ด้านบุคลากร (People) ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติต่อบุคลากรอย่างเป็นธรรมและเคารพในสิทธิมนุษยชน ด้านกระบวนการผลิต (Process) ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยต้นทางและพื้นฐานของธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร และ ด้านการดำเนินงาน (Performance) ยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม และการปฏิบัติตามข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พร้อมกำหนดแนวทางและแผนงานบริหารความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานระหว่างปี 2557-2562

นอกจากนี้การส่งมอบนโยบายและแนวปฏิบัติฯ ไปยังคู่ค้าธุรกิจถือเป็นภารกิจสำคัญ เนื่องจากการดำเนินธุรกิจของซีพีเอฟมีห่วงโซ่อุปทานที่ซับซ้อนและมีขนาดใหญ่ ทำให้มีคู่ค้าธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทานจำนวนมากและหลากหลาย บริษัทจึงนำร่องส่งมอบนโยบายฯ ในกลุ่มคู่ค้าธุรกิจหลัก ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความสัมพันธ์โดยตรงต่อคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ตลอดจนมีความเกี่ยวข้องกับมิติด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีหลักเกณฑ์และกระบวนการในการกำหนดคู่ค้าธุรกิจหลัก เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน ประกอบด้วย การวิเคราะห์การใช้จ่าย (Spend Analysis) มีปริมาณหรือสัดส่วนธุรกรรมการจัดซื้อเป็นจำนวนมาก, การวิเคราะห์ความสำคัญ (Critical Analysis) เป็นผู้ส่งมอบวัตถุดิบหรือส่วนประกอบหลักที่สำคัญ ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงต่อคุณภาพอาหาร และการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (Environment, Social and Governance: ESG Risk Analysis)

“ซีพีเอฟไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้เพียงลำพัง คู่ค้าจึงเป็นพันธมิตรที่เปรียบเสมือนเพื่อนร่วมทาง คนสำคัญที่ช่วยกันขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตต่อไป ดังนั้นการที่คู่ค้าได้นำแนวนโยบายนี้ไปปฏิบัติ จะทำให้ทั้งบริษัทและคู่ค้ามีการบริหารจัดการที่ดี (Good Governance) ได้รับการยอมรับในระดับสากล และสนับสนุนความต่อเนื่องของการดำเนินธุรกิจ (Business Continuity) ทั้งของคู่ค้าธุรกิจและบริษัท ขณะที่ผลในระยะยาว บริษัทเชื่อว่าการบริหารความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานเป็นหนึ่งในหนทางการเสริมสร้าง “ความมั่นคงทางอาหาร” ด้วยเงื่อนไขการผลิตอาหารที่มีคุณภาพอย่างพอเพียงและทั่วถึง บนพื้นฐานการดูแลและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจากความมุ่งมั่นเหล่านี้จะสามารถผลักดันให้ซีพีเอฟก้าวสู่การเป็น “ครัวของโลก” ได้ในที่สุด นายวุฒิชัย กล่าว

สำหรับปีนี้ ซีพีเอฟตั้งเป้าสร้างการมีส่วนร่วมของคู่ค้าธุรกิจหลักครบ 100% โดยในเดือนพฤษภาคมนี้จะมีการจัดประชุมใหญ่ “Supplier Conference” เพื่อเชิญชวนคู่ค้าธุรกิจเข้ามารับฟังแนวทางปฏิบัติ และส่งมอบนโยบายจัดหาอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้าธุรกิจอย่างเป็นทางการ พร้อมเตรียมจัด workshop จำนวน 10 ครั้งใน 5 ภูมิภาค ในช่วงไตรมาส 2-3 เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและส่งเสริมคู่ค้าในการประเมินความยั่งยืนของตนเอง (Self-Assessment) อันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางการวางแผนพัฒนาความยั่งยืนร่วมกันในที่สุด

ข่าวยอดนิยม

ประโยชน์ของข้าวแดง หรือ ข้าวซ้อมมือ...

13 ตุลาคม 2558
25815

เอ็มจี เติบโตต่อเนื่อง ทุ่มงบลงทุนกว่าหมื่นล้าน เปิดโรงงานผลิตรถยนต์แห...

08 ธันวาคม 2560
23217

อาหารจานด่วน-อาหารขยะ ผลเสียต่อสุขภาพ...

22 กรกฎาคม 2558
18074

ซีพี-เมจิ ตอกย้ำภาพเบอร์ 1 ตลาดนมพาสเจอร์ไรซ์ พร้อมยกระดับตลาดโยเกิร์ต...

03 กรกฎาคม 2558
15942

แชร์ข่าวสาร

ซีพีเอฟ แนะเกษตรกรใช้เครื่องให้อากาศในกระชังปลาช่วยเพิ่มออกซ... ซีพีเอฟ มั่นใจซื้อกิจการ ซีพีกัมพูชา รับการเติบโตอินโดจีน ...
  • ซีพีเอฟ
  • CPF
  • วุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์
  • ความยั่งยืน
  • Sustainable

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

How to Avoid a Climate Disaster ของบิลล์ เกตส์ จากก๊าซเรือนกระจก 51 พั...

09 มีนาคม 2564
11

ทรู 5G ร่วมกับ โรงพยาบาลศิริราช ปฎิวัติการใช้งานเครือข่ายอัจฉริยะ 5G ด...

08 มีนาคม 2564
30

ที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อน 5G แห่งชาติ เร่งหน่วยงานพัฒนา 5G รับ EEC...

08 มีนาคม 2564
77

3 ยักษ์อีคอมเมิร์ซจีน อ้าแขนรับสินค้าเกษตรไทย ส่งออกผ่านด่านใหม่ ’ตงชิ...

08 มีนาคม 2564
78

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th