• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย จับมือ สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย เปิดเวที เสวนาโต๊ะกลม


10 เมษายน 2558
การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ ได้เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดวิกฤตหมอกควันในภาคเหนือของประเทศไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยและสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย ในฐานะที่เกี่ยวข้องโดยตรง ได้ตระหนักถึงบทบาทและความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งในประเด็นเรื่องหมอกควันที่ได้ผูกสาเหตุมาจากการเผาซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รวมถึงพฤติกรรมการบุกรุกป่าเพื่อใช้เป็นพื้นที่ทำกิน จึงจัดให้มีการประชุมเสวนาโต๊ะกลม "ความจริงเรื่องข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กับทางออกเพื่อประเทศไทย" ระดมความคิดเห็นและรับทราบข้อเท็จจริงจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวทุกภาคส่วน  โดยสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ขอให้ประกาศมาตรฐาน GAP ข้าวโพดแห้งเป็นมาตรฐานบังคับทันที และเร่งออกกฎหมายรายได้และสวัสดิการเกษตรกร
 

 

นายพรศิลป์  พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวว่า สมาคมฯ ได้ตระหนักถึงการสร้างความยั่งยืนให้กับภาคธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ คือ การพัฒนาระบบการผลิตพืชวัตถุดิบที่จะถูกนำมาผลิตอาหารสัตว์ให้ได้คุณภาพปลอดภัยและยั่งยืน ส่งผ่านไปยังภาคธุรกิจอาหารสัตว์ และส่งต่อไปจนถึงภาคปศุสัตว์ และต่อเนื่องไปถึงภาคอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป โดยนัยยะของความยั่งยืนภายใต้แนวคิดของสมาคมนั้น คือ การสร้างความยั่งยืนทั้งระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมควบคู่กัน 
จากสถานการณ์ปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยเป็นประจำทุกปีนั้น มีสาเหตุมาจากหลายส่วนด้วยกัน และสาเหตุหนึ่งที่ต้องยอมรับคือเกิดจากการเผาต่อซังข้าวโพดเพื่อเตรียมดินสำหรับการเพาะปลูกรอบต่อไป อย่างไรก็ตามสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ในฐานะผู้ใช้วัตถุดิบข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไม่ได้สนับสนุนให้เกษตรกรเผาตอซัง และมองเห็นว่าหนึ่งในแนวทางที่จะช่วยแก้และลดปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นนั้น คือการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะต้องประกาศให้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GOOD AGRICULTURAL PRACTICES : GAP) สำหรับการผลิตข้าวโพดเมล็ดแห้ง (มกษ. 4402-2553) เป็นมาตรฐานบังคับโดยทันที ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวได้พิสูจน์แล้วว่าส่งผลดีให้กับเกษตรกร ทั้งในด้านชีวิตความเป็นอยู่ รายได้ที่เพิ่มขึ้น เกษตรกรสุขภาพที่ดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาล และถือเป็นการช่วยเหลือสังคมไปในตัวด้วย  ซึ่งภาครัฐจะต้องจัดสรรงบประมาณในการช่วยเหลือยกระดับเกษตรกรปลูกข้าวโพดแห้งให้เข้าสู่ระบบ GAP ทั้งระบบด้วย และจะต้องใช้ระยะเวลาในการยกระดับเกษตรกรของไทย  ซึ่งสมาคมฯจะประกาศงดรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน GAP แต่จะดำเนินการในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปในระยะเวลา 3-5 ปีเพื่อเป็นอีกแรงหนึ่งที่จะช่วยภาครัฐให้ยกระดับเกษตรกรไทย ทั้งนี้ก็เพื่อนำไปสู่การสร้างความยั่งยืนให้กับอาชีพเกษตรกร ตลอดจนห่วงโซ่อุปทานอาหารทั้งระบบต่อไป

สอดคล้องกับที่ นางสาววินิดา อังศุพันธุ์ นายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย กล่าวว่า ข้าวโพดถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย  เกี่ยวข้องกับเกษตรกรประมาณ 4  แสนครัวเรือน   ซึ่งที่ผ่านมาทั้งภาครัฐและเอกชนมีการร่วมมือในการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างยั่งยืนเพื่อประโยชน์ต่อเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม  โดยเริ่มจากการใช้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดี  การปลูกอย่างเหมาะสม การรักษาคุณภาพผลผลิต และการจัดการหลังเก็บเกี่ยวอย่างถูกต้อง   ซึ่งสมาคมการค้าเมล็ดพันธุไทยให้การสนับสนุนมาโดยตลอด และสำหรับทางออกในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นั้นภาครัฐ เอกชน และเกษตรกรต้องร่วมมือกัน

 

 

ด้าน นายพาโชค พงษ์พานิช กรรมการบริหารสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย กล่าวว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชที่ความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย เมล็ดพันธ์ที่ใช้ในการเพาะปลูกแต่ละปีมีมูลค่าประมาณ 2,500 ล้านบาท สร้างผลผลิตข้าวโพดไร่ปีละ 4.5 ล้านตันคิดเป็นมูลค่ากว่า 45,000 ล้านบาท และเมื่อผ่านผู้รวบรวมในท้องถิ่นระดับจังหวัดสู่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ก็เพิ่มมูลค่าเป็น 300,000 ล้านบาท จากอาหารสัตว์เข้าสู่อุตสาหกรรมอาหารเป็นผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์ทั้งระบบทั้งบริโภคในประเทศและส่งออก จะมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 1 ล้านล้านบาท จะเห็นได้ว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร มีมูลค่าเพิ่มในทุกขั้นตอน และที่สำคัญมีเกษตรกรรายย่อยที่เกี่ยวข้องกว่า 400,000 ราย   ทางออกในการแก้ไขปัญหาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชนและเกษตรกร โดยทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันสนับสนุนให้เกษตรกรมีความรู้  และมีทักษะการผลิตข้าวโพดที่มีมาตรฐาน  โดยการยกระดับผลผลิตจะช่วยลดความเสี่ยงเกษตรกร  การพัฒนาพันธุ์ดี เป็นบทบาทของภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างทางเลือกให้เกษตรกรได้ใช้พันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่  ซึ่งประเทศไทยมีความพร้อมและได้เปรียบในการพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดมาตลอด  ส่วนกรณีการปลูกข้าวโพดในพื้นที่สูง  ต้องพยายามสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนมาใช้การผลิตอย่างยั่งยืน  เพราะลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการกีดกันทางการค้า

 

 

นายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า ปัญหาหมอกควันภาคเหนือปีนี้รุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา โดยปี 58 ใน 9 จังหวัดภาคเหนือ ตรวจพบจุดความร้อนในเขตป่าสงวนแห่งชาติ 43% เขตป่าอนุรักษ์ 43% และพื้นที่ราบ 14% สาเหตุที่ชาวบ้านบุกรุกป่าปลูกข้าวโพด เพราะเป็นพืชอายุสั้นดูแลง่าย แต่หากปลูกพืชยืนต้น อาจถูกเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบได้ง่าย ซึ่งแนวทางแก้ไขในส่วนภาครัฐคือ การจัดระเบียบการเผา ทำอย่างไรไม่ให้ชาวบ้านเผาพร้อมกัน  หรือสนับสนุนให้ปลูกพืชทางเลือก  อีกทั้งสนับสนุนให้ใช้ประโยชน์จากวัสดุทางการเกษตร เช่น นำไปทำปุ๋ยหมักหรือพลังงานทดแทน  บังคับใช้กฏหมายเข้มข้นขึ้น

นอกจากนี้อธิบดีกรมควบคุมมลพิษได้เสนอให้ภาคเอกชนร่วมมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยสนับสนุนให้ภาคเอกชนดำเนินโครงการด้าน CSR สร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่ยากจน สนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เพื่อตัดวงจรเผาป่า  สนับสนุนอุปกรณ์เครื่องจักร รับซื้อเศษวัสดุทางการเกษตร เพื่อไม่ให้เกษตรกรเผาก่อนเพาะปลูก  และให้ผู้ประกอบการแบนผลผลิตข้าวโพดจากการเผา ขณะนี้นายกรัฐมนตรีสั่งให้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประชุมวางแผนทันที เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในปีถัดไป

 

 

งานนี้นอกจากหน่วยงานภาครัฐร่วมแสดงความคิดเห็นแล้วยังมีตัวแทนเครือข่ายเกษตรกรเข้าร่วมหารือด้วย เริ่มจาก นายสถาพร สมศักดิ์ ที่ปรึกษาเครือข่ายป่าชุมชน จ.น่าน กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า แรงจูงใจที่ทำให้ชาวบ้านปลูกข้าวโพดคือ ผลผลิตดี และมีราคาสูง เพราะชาวบ้านยากจน ไม่มีอาชีพ ไม่มีรายได้ ไม่มีเงินส่งลูกเรียน มีปัญหาหนี้สิน นอกจากนี้เป็นเพราะสารเคมีและยากำจัดศัตรูพืชก็มีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องเพราะทำให้การเพาะปลูกง้ายยิ่งขึ้น  เพราะใช้ราดกำจัดวัชพืช จากนั้นจุดไฟเผาได้ทันที ทำให้ชาวบ้านเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกจากเดิมรายละ 20 ไร่ กลายเป็นเป็น 50-100 ไร่

สำหรับแนวทางแก้ปัญหาของจ.น่าน ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนที่สูงของไทยนั้น ขณะนี้หลายหน่วยงานมีการร่วมกันดำเนินการและมีการจัดทำข้อบัญญัติตำบล ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน  รวมทั้งตัวแทนหน่วยงาน  ทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ และควบคุมไม่ให้มีการขยายพื้นที่ข้าวโพดในเข้าไปในพื้นที่ป่า ซึ่งล่าสุดทำได้ 34 ตำบล  ผลคือ  ลดปัญหาความขัดแย้งเพราะเกษตรกรจะรับรู้ขอบเขตพื้นที่ปลูก และหน่วยงานต่างๆ สามารถนำไปใช้วางแผนส่งเสริม รวมถึงการช่วยเหลือมีความชัดเจนมากขึ้น

 


 

นางกฤษณา ทองเพ็ง เกษตกร จ.เพชรบูรณ์  ตัวอย่างเกษตรกรที่ได้รับใบรับรองมาตรฐาน GAP รายแรกในประเทศไทย กล่าวว่าปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเพาะปลูกข้าวโพดโดยไม่เผาป่า แต่ใช้วิธีไถกลบให้ตอซังย่อยสลายเป็นปุ๋ยรักษาดิน ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มผลผลิต และใช้น้ำหมักชีวภาพกำจัดศัตรูพืช ทำให้ครอบครัวปลอดภัย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ช่วยลดต้นทุน และช่วยเพิ่มผลผลิตจาก 665 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 1,400-1,500 กิโลกรัมต่อไร่ 

ด้าน นายมานพ คีรีภูวดล มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ) กล่าวว่า ปลูกข้าวโพดมาตรฐาน GAP เหมาะสำหรับพื้นที่ราบและมีน้ำอุดมสมบูรณ์ แต่ จ.น่าน ส่วนใหญ่เป็นที่ลาดชัน และพึ่งพิงน้ำฝนธรรมชาติ จึงไม่สามารถทำได้ ทั้งนี้ จึงขอภาครัฐกำหนดพื้นที่ใช้ประโยชน์ เพื่อให้ชาวบ้านมีสิทธิพัฒนาพื้นที่ของตัวเองได้
นายธวัช ขัดผาบ มูลนิธิไทยรักษ์ป่า กล่าวว่า อยากให้ทุกฝ่ายร่วมกันหาแนวทางฟื้นฟูป่าต้นน้ำ โดยที่ชุมชนอยู่ได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ต้องยอมรับว่า  ปัญหาหมอกควันที่เกิดจากการเผาป่า ไม่ใช่เกิดจากปลูกข้าวโพดในไทยเพียงอย่างเดียว แต่ยังเกิดจากเผาป่าในประเทศเพื่อนบ้าน ที่เผาทุ่งหญ้าให้แตกใบอ่อน เพื่อเลี้ยงวัว  จึงฝากให้มีการศึกษาข้อมูลส่วนนี้ด้วยจะได้ไม่มีใครเป็นจำเลยของสังคม

ดร.สฤณี อาชวานันทกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ป่าสาละ จำกัด กล่าวว่า เกี่ยวกับปัญหานี้ขอให้ภาครัฐ เอกชน และกลุ่ม NGO ร่วมมือกันเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดในพื้นที่สูงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเผาได้ เพราะรถแทรคเตอร์หรือรถไถกลบดินขึ้นไปไม่ได้ และหากเอกชนประกาศมาตรการไม่รับซื้อข้าวโพดที่เกิดจากการเผาเพื่อให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น ก็ จะทำให้เกษตรกรเดือดร้อน เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมจะทำให้แย่กว่าเดิม จึงอยากให้สร้างทางเลือก เพื่อดึงเกษตรกรในพื้นที่สูงลงมาปลูกข้าวโพดในพื้นที่ราบ ซึ่งต้องใช้เวลาเหมือนสตาร์บัค ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกาแฟไม่กระทบสิ่งแวดล้อมนานถึง 10 ปี

จากเวทีการเสวนาในครั้งนี้ทุกฝ่ายมาร่วมแบ่งปันข้อมูลข้อเท็จจริงร่วมกัน จะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมกันแก้ไขและหาทางออกที่จะไม่ทำให้เกิดปัญหาหมอกควันจากการเผาป่าในปีต่อๆ ไป  ซึ่งทุกฝ่ายมีความจริงใจที่จะร่วมมือกันผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหานี้อย่างยั่งยืน หากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศให้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GOOD AGRICULTURAL PRACTICES : GAP) สำหรับการผลิตข้าวโพดเมล็ดแห้ง (มกษ. 4402-2553) เป็นมาตรฐานบังคับนับเป็นอีกแนวทางหนึ่ง ซึ่งหากมีการบังคับใช้จะเห็นผลที่นำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนต่อไป

ข่าวยอดนิยม

ประโยชน์ของข้าวแดง หรือ ข้าวซ้อมมือ...

13 ตุลาคม 2558
24827

เอ็มจี เติบโตต่อเนื่อง ทุ่มงบลงทุนกว่าหมื่นล้าน เปิดโรงงานผลิตรถยนต์แห...

08 ธันวาคม 2560
23102

อาหารจานด่วน-อาหารขยะ ผลเสียต่อสุขภาพ...

22 กรกฎาคม 2558
16790

ซีพี-เมจิ ตอกย้ำภาพเบอร์ 1 ตลาดนมพาสเจอร์ไรซ์ พร้อมยกระดับตลาดโยเกิร์ต...

03 กรกฎาคม 2558
15703

แชร์ข่าวสาร

“ส.ป.ก.” จับมือ “กรุงเทพโปรดิ๊วส” ทำโครงการ “เกษตรกรพึ่งตน ข... ซีพีเอฟ ย้ำใบเหลือง อียู-เทียร์ 3 สหรัฐ ไม่กระทบยอดขาย...
  • Enter เพื่อเว้นช่องคำค้นหา 1 คำค้นหา / กรุณาลบคำอธิบายนี้ถ้าท่านเข้าใจแล้ว
  • ดร.สฤณี อาชวานันทกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ป่าสาละ จำกัด
  • มานพ คีรีภูวดล มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • กฤษณา ทองเพ็ง
  • สถาพร สมศักดิ์
  • เครือข่ายป่าชุมชน จ.น่าน
  • วิเชียร จุ่งรุ่งเรือง

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

สภาหอการค้า หนุนรัฐลดหย่อนภาษี ให้เอกชนที่ลงทุนตรวจโควิดพนักงาน ...

14 มกราคม 2564
122

สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย ชี้ไทยไม่เคยพบเชื้อไวรัส G4 ไข้หวัดสา...

14 มกราคม 2564
126

แนวโน้มอสังหาเชิงพาณิชย์ปี 2564 อาคารสำนักงานยังจำเป็น ทำงานที่บ้านเป็...

14 มกราคม 2564
113

“ม.หอการค้า” ชูรัฐแจก 3,500 บ. กระตุ้นศก.ตรงจุด คาดช่วยดันจีดีพีปีนี้ ...

13 มกราคม 2564
176

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th