• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

พีไอเอ็ม เรียนรู้คู่ฝึกงาน ตามแบบฉบับ Work-based Education สร้างบุคลากรยุค Industry 4.0


14 มีนาคม 2562

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) มหาวิทยาลัยแห่งองค์กรธุรกิจ หรือ Corporate University สถาบันอุดมศึกษาก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2550 โดยบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินการจัดการศึกษามาแล้ว 12 ปี เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพียงหนึ่งเดียวที่จัดการเรียนการสอนรูปแบบ “Work-based Education” แห่งแรกของประเทศไทย คือการเรียนทฤษฎีในห้องเรียนกับคณาจารย์มากไปด้วยประสบการณ์ ควบคู่การฝึกปฎิบัติงานกับสถานประกอบการจริงที่ตรงกับสาขาวิชาที่เรียนในองค์กรธุรกิจ เครือข่ายพันธมิตรมากมายทั่วโลกที่เต็มไปด้วยมืออาชีพมีความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีพนั้นๆ นับเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์การทำงานให้แก่นักศึกษาอย่างจริงจังและครบถ้วน นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดการพัฒนาตนเองในทุกด้าน อาทิ ทักษะด้านวิชาชีพ ทักษะชีวิต และทักษะทางสังคม

พีไอเอ็มรับบทบาทในการสร้างคนคุณภาพ มุ่งสร้างบัณฑิตอัดแน่นไปด้วยคุณภาพพร้อมทำงานได้ทันที ป้อนสู่สถานประกอบการ โดยเฉพาะในยุค Industry 4.0 นี้ เป็นอีกหนึ่งตลาดที่เปิดกว้างต้องการแรงงานเฉพาะทางนับแสนอัตรา พีไอเอ็มส่งนักศึกษาเข้าฝึกปฏิบัติ โรงงานผลิตรถยนต์เอ็มจี บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด เพื่อมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการผลิตและพัฒนาบุคลากร ให้มีทักษะและสมรรถนะตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการ รวมทั้งร่วมกันศึกษาข้อมูลความต้องการบุคลากร และความสามารถในการผลิตและพัฒนาของอุตสาหกรรมยานยนต์

นายศิวณัฐ จินดาทะจักร์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ปัจจุบันทำงานตำแหน่ง VQ-Paint Engineer กล่าวว่า “ปัญหาของนักศึกษาจบใหม่ที่พบคือ มีความรู้ในห้องเรียนแต่ไม่มีภูมิต้านทานในการทำงาน การทำงานนั้นไม่มีเกณฑ์ในการให้คะแนน มีแค่ทำได้หรือไม่ได้ เพราะฉะนั้นข้อดีของการฝึกงานร่วมกับการเรียนอย่างเห็นได้ชัด คือผู้เรียนมีองค์ความรู้ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ แน่นอนว่าเมื่อทำงานจริงเราสามารถปรับตัวได้ง่าย พร้อมทั้งสามารถประยุกต์สิ่งที่เรียนให้เหมาะสม ตามสภาพปัญหาในการทำงาน (ที่มีหลายรูปแบบไม่ซ้ำกัน) ได้อย่างเป็นรูปธรรม”

นายอัครเดช คำสิงหา สาขาวิศวกรรมศาสตร์ยานยนต์ ปัจจุบันทำงานตำแหน่ง GA Quality Engineer เสริมว่า “การเรียนและการฝึกงานที่ควบคู่ไปด้วย ทำให้ผมได้นำทฤษฎีที่เรียนในห้องเรียนไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน ซึ่งผมได้มีโอกาสฝึกงานทั้งหมด 3 แห่ง คือ 1.ร้าน 7-ELEVEN เป็นเวลา 3 เดือน ฝึกฝนให้มีความรับผิดชอบงานสูง การฝึกแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ 2.ศูนย์บริการ Mercedes Benz ฝึกทักษะเกี่ยวกับยานยนต์โดยใช้ความรู้ทางทฤษฎีมาบูรณาการใช้กับทางด้านปฏิบัติ ซึ่งทำให้เห็นผลของระบบการเรียนแบบ Work-based Education อย่างที่สุด และ 3. โรงงานผลิตรถยนต์เอ็มจี บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด นับว่าเป็นโอกาสที่หาไม่ได้จากสถาบันศึกษาอื่น ซึ่งให้โอกาสนักศึกษาได้เข้าฝึกงานกับสถานประกอบการจริง ผมนำวิชาความรู้ที่ได้เรียนมาและประสบการณ์ฝึกงานก่อนหน้านี้มาลงสนามจริงที่นี่ ซึ่งก็เห็นผลอย่างชัดเจนว่ามีความมั่นใจ สามารถพร้อมที่จะทำงาน แต่ละที่ที่ผมได้มีโอกาสไปฝึกงานล้วนมีความแตกต่างกัน ทั้งด้านลักษณะงาน สังคม ทำให้ผมได้เรียนรู้กับทำงานร่วมกับผู้อื่น และการใช้ความรู้ที่เรียนมาอย่างหลากหลายวิเคราะห์การทำงานต่างๆได้ด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นประสบการณ์ที่หาไม่ได้ในจากที่ไหน แต่พีไอเอ็มมีให้ผมครับ

ทางด้าน นายภัทรพล สุขผล นักศึกษาสาขาวิศวกรรมการผลิตยานยนต์ ชั้นปีที่ 4 ฝึกปฏิบัติงานแผนก Manufacturing Engineer พูดถึงข้อดีของการเรียนแบบ Work-based Education “การเรียนในห้องคือการเรียนรู้ในภาคทฤษฎีซึ่งเป็นพื้นฐานที่นักศึกษาทุกคนต้องเรียนรู้ และนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานในอนาคต ซึ่งสถาบันของเรามีหลักสูตรเรียนไปด้วยฝึกงานไปด้วย ทำให้ได้มองเห็นภาพการทำงานจริงๆ ตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับคนอื่น การทำงานเป็นระบบ ระเบียบวินัยในการทำงาน และทำให้ได้เข้าใจสิ่งที่เรียนในห้องเรียนได้มากขึ้นจากการฝึกงาน โดยทั้งหมดนี้เพื่อให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน และผมมองว่า ประโยชน์ที่ได้รับโดยตรงจาก Work-based Education คือ ประสบการณ์โดยจะแตกต่างกันตั้งปี ปี 1 ฝึกระเบียบวินัย เข้าใจงานบริการ ส่วนปี 2 เรียนรู้การบำรุงรักษาสถาพของรถยนต์เบื้องต้น ปี3-4 ฝึกงานในโรงงานอุตสาหกรรมรถยนต์ ทำให้รู้ว่ากว่าจะผลิตรถยนต์หนึ่งคันต้องผ่านอะไรบ้าง”

สำหรับ นางสาวสุภนิดา รัตนกรรภิรมย์ นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ชั้นปีที่ 4 ฝึกปฏิบัติงานแผนก Body Shop กล่าวว่า “การเรียนไปด้วยแล้วฝึกงานไปด้วยของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ โดยส่วนตัวแล้วรู้สึกว่าดีมากค่ะ เพราะทำให้นักศึกษาของแต่ละสาขาแต่ละคณะที่ตัวเองศึกษาอยู่ ได้ฝึกงานจริง ได้ประสบการ์ณจริง ได้รู้จักการทำงานและการเตรียมความพร้อมในการทำงานจริงก่อนคนอื่น และชอบที่เราได้มีความก้าวหน้ามากกว่าคนอื่นๆ หนึ่งก้าว”

ข่าวยอดนิยม

ประโยชน์ของข้าวแดง หรือ ข้าวซ้อมมือ...

13 ตุลาคม 2558
36474

อาหารจานด่วน-อาหารขยะ ผลเสียต่อสุขภาพ...

22 กรกฎาคม 2558
33643

เอ็มจี เติบโตต่อเนื่อง ทุ่มงบลงทุนกว่าหมื่นล้าน เปิดโรงงานผลิตรถยนต์แห...

08 ธันวาคม 2560
25335

ซีพี-เมจิ ตอกย้ำภาพเบอร์ 1 ตลาดนมพาสเจอร์ไรซ์ พร้อมยกระดับตลาดโยเกิร์ต...

03 กรกฎาคม 2558
18111

แชร์ข่าวสาร

ซีพีเอฟ มุ่งพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ ปรับปรุงฟาร์มแม่พันธุ์สุกรสู... สถานทูตฯญี่ปุ่น จับมือ ก.ดิจิทัล เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ ทรู ...
  • พีไอเอ็ม
  • เรียนรู้คู่ฝึกงาน
  • Work-based Education
  • Industry 4.0
  • รถยนต์เอ็มจี
  • ริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

เวิลด์แบงก์เตือนหนี้สูงฉุดแผนฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก...

29 ธันวาคม 2564
11664

บริโภค-ลงทุนเอกชนทยอยฟื้นตัว “สศค.” เผยหนุน ศก.ภูมิภาคพ.ย.ปรับดีขึ้น...

29 ธันวาคม 2564
11856

นายกฯ พอใจศักยภาพส่งออกสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรม ขยายตัวต่อเนื่อง เร่งพัฒ...

28 ธันวาคม 2564
10444

ครม.ทราบมติ คกก.นโยบายการเงินรัฐ ขยับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีไม่เกิ...

28 ธันวาคม 2564
10535

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th