• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

นักวิชาการเสนอสร้างรูปแบบสัญญา Contract Farming เป็นมาตรฐานเดียวกัน หลังพบเกษตรกรร้องเรียนบริษัทรายย่อยมากกว่าบริษัทรายใหญ่


20 ตุลาคม 2557

 

ในงานเสวนา “Contract Farming คืออะไร? เกษตรกรไทยได้หรือเสียประโยชน์” จัดโดยคณะกรรมการธุรกิจเกษตรและอาหาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย คุณปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า Contract Farming เป็นระบบที่ดี แต่เกษตรกรจะต้องพิจารณาเลือกสัญญาให้เหมาะสมกับสภาพการทำธุรกิจของตัวเอง ไม่ควรดูเรื่องผลตอบแทนเพียงอย่างเดียว ส่วนบริษัทเอกชนคู่สัญญา ก็จะต้องทำความเข้าใจและพูดคุยกับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการให้ชัดเจน เพื่อให้การบังคับใช้สัญญาเกิดความเป็นธรรม

ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์ สาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องมีระบบ Contract Farming ในธุรกิจเกษตรและอาหาร เพราะบริษัทเอกชนไม่สามารถผลิตวัตถุดิบด้วยตัวเองได้ เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูงและขาดแคลนแรงงาน จึงต้องสนับสนุนให้เกษตรกรช่วยดำเนินการ แต่ปัญหาเกิดจากสัญญาที่ไม่มีมาตรฐาน แต่ละบริษัทเขียนกันเอง และยกความเสี่ยงให้เกษตรกรเป็นผู้รับผิดชอบ จึงเกิดปัญหาร้องเรียนขึ้นกรณีที่เกษตรกรทำธุรกิจล้มเหลว ทั้งที่ Contract Farming เป็นระบบที่ทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนดี และลืมตาอ้าปากได้

“คนที่วิจารณ์ว่า Contract Farming เป็นสัญญาทาส สร้างหนี้ และเอาเปรียบเกษตรกร ถือเป็นมายาคติที่มองด้านเดียว เพราะส่วนใหญ่ประสบผลสำเร็จด้วยดี จะมีปัญหาเกิดขึ้นกับบริษัทรายย่อยที่ทำสัญญากับเกษตรกรเท่านั้น ส่วนบริษัทรายใหญ่มีปัญหาน้อยมาก ซึ่งวิธีแก้ไขให้ยั่งยืน จะต้องสร้างระบบ Contract Farming ให้สมดุล ด้วยการกำหนดรูปแบบสัญญาให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกบริษัท เนื้อหาสัญญาจะต้องเฉลี่ยความเสี่ยงระหว่างบริษัทเอกชนและเกษตรกร และต้องมีคนกลางเข้ามาดูแลข้อพิพาทสัญญา เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทั้ง 2 ฝ่าย” ดร.วิโรจน์ กล่าว

ส่วนนายสัตวแพทย์ชัย วัชรงค์ นักวิชาการอิสระ แนะนำเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการ Contract Farming จะต้องเข้าใจหลักการก่อนว่า Contract Farming เป็นธุรกิจ ไม่ใช่มูลนิธิหรือสังคมสงเคราะห์ เพราะทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็ต้องการได้รับผลประโยชน์ด้วยกัน ส่วนเกษตรกรที่ชอบความเป็นอิสระ ไม่ควรเข้าร่วม Contract Farming เพราะระบบนี้จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขการดูแลของบริษัทคู่สัญญาอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความสูญเสียจากการทำธุรกิจ ซึ่งบริษัทเอกชนจะช่วยเกษตรกรอย่างเต็มที่อยู่แล้ว เพราะหากเกษตรกรล้มเหลว จะส่งผลกระทบต่อบริษัทคู่สัญญาด้วย ในฐานะผู้ค้ำประกันเงินกู้ให้กับเกษตรกร ที่ผ่านมา Contract Farming ประสบผลสำเร็จเกิน 90%

คุณวิโรจน์ ภู่สว่าง รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มมิตรผล กล่าวว่า Contract Farming เป็นเครื่องมือช่วยให้กลุ่มมิตรผลทำธุรกิจน้ำตาลได้อย่างยั่งยืน เพราะหากไม่มีเกษตรกรปลูกอ้อยในระบบ Contract Farming โรงงานหีบอ้อยก็จะไม่มีวัตถุดิบมาผลิตน้ำตาล ดังนั้นกลุ่มมิตรผลจึงเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรอย่างเต็มที่ ทั้งระบบสินเชื่อ สนับสนุนปัจจัยการผลิต และอำนวยความสะดวกในการจัดรถบรรทุกไปรับอ้อยจากเกษตรกรถึงพื้นที่

ด้านคุณสมบูรณ์ วัชรพงษ์พันธ์ เกษตรกรเลี้ยงไก่เนื้อ รู้สึกพอใจกับระบบ Contract Farming ที่ได้เข้าร่วมมาตั้งแต่ปี 2545 เพราะประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยช่วงแรกอึดอัดใจอย่างมาก ที่บริษัทคู่สัญญาบังคับให้ดำเนินการเรื่องต่างๆ อย่างเคร่งครัด แต่หลังจากได้ผลตอบแทนตามที่บริษัทกำหนดไว้ จึงเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องทำตามกติกาทุกขั้นตอน เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ทำให้วันนี้ไม่มีความเสี่ยงเรื่องการตลาด ที่สำคัญยังได้รับเทคโนโลยี และระบบมาตรฐานมาใช้ในฟาร์มเลี้ยงไก่ด้วย อย่างไรก็ตามอยากให้บริษัทเอกชนปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและจริงใจกับเกษตรกร เพราะปกติจะไม่สนใจอ่านสัญญาที่ทำไว้ เนื่องจากไม่มีความรู้เรื่องกฎหมาย

ข่าวยอดนิยม

ประโยชน์ของข้าวแดง หรือ ข้าวซ้อมมือ...

13 ตุลาคม 2558
35956

อาหารจานด่วน-อาหารขยะ ผลเสียต่อสุขภาพ...

22 กรกฎาคม 2558
33376

เอ็มจี เติบโตต่อเนื่อง ทุ่มงบลงทุนกว่าหมื่นล้าน เปิดโรงงานผลิตรถยนต์แห...

08 ธันวาคม 2560
25268

ซีพี-เมจิ ตอกย้ำภาพเบอร์ 1 ตลาดนมพาสเจอร์ไรซ์ พร้อมยกระดับตลาดโยเกิร์ต...

03 กรกฎาคม 2558
18040

แชร์ข่าวสาร

ทรูมูฟ เอช จัดโรดโชว์อวดโฉม Ferrari 458 Italia โอกาสสุดท้ายค... “เซเว่น อีเลฟเว่น” ผนึกกำลัง 4 พันธมิตรใหญ่ รับแลกคูปอง “ดิจ...
  • ซีพี
  • เครือเจริญโภคภัณฑ์
  • CP
  • CP Group
  • Contact Farming
  • เกษตรพันธสัญญา

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

เวิลด์แบงก์เตือนหนี้สูงฉุดแผนฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก...

29 ธันวาคม 2564
11429

บริโภค-ลงทุนเอกชนทยอยฟื้นตัว “สศค.” เผยหนุน ศก.ภูมิภาคพ.ย.ปรับดีขึ้น...

29 ธันวาคม 2564
11605

นายกฯ พอใจศักยภาพส่งออกสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรม ขยายตัวต่อเนื่อง เร่งพัฒ...

28 ธันวาคม 2564
10261

ครม.ทราบมติ คกก.นโยบายการเงินรัฐ ขยับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีไม่เกิ...

28 ธันวาคม 2564
10355

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th