• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

ซีพีเอฟ ขึ้นแท่นเบอร์ 2 ผู้ผลิตสุกรโลกรองจากจีน


08 ตุลาคม 2563

160208218947

ปี 2563 มูลค่าการส่งออกปศุสัตว์ไทยมีประมาณ 2 แสนล้านบาท จาก 5 ปีก่อนมีมูลค่าเพียง 1 แสนล้านบาท ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ภาคปศุสัตว์ 5.6% ในปีนี้

ปี 2563 มูลค่าการส่งออกปศุสัตว์ไทยมีประมาณ 2 แสนล้านบาท จาก 5 ปีก่อนมีมูลค่าเพียง 1 แสนล้านบาท ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ภาคปศุสัตว์ 5.6% ในปีนี้ และประเมินว่าปีหน้าจะเป็นผู้ส่งออกอาหารลำดับต้นๆของโลก ซึ่งภาคเอกชนอย่าง ซีพีเอฟ ได้นำร่องเป้าหมายดังกล่าวแล้ว 

ประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร  บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า จากแบรนด์ “ยูฟาร์ม” ซึ่งเป็นอาหารปลอดการใช้สารชีภาพ ประสบผลสำเร็จไปแล้วในผลิตภัณฑ์ไก่เบญจา จึงได้ทำการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์เพื่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง กระทั่งเป็น“เนื้อหมูชีวา” ที่อุดมด้วยไขมันดี มีโอเมก้า 3 สูง สามารถตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ที่ทั้งใส่ใจในสุขภาพและให้ความสำคัญกับหลักสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare)

โดยเป็นการพัฒนาหมู ตั้งแต่สายพันธุ์ อาหารที่เลี้ยง วิธีการเลี้ยง เพื่อให้ได้มาซึ่งเนื้อหมูไขมันดี และมีโอเมก้า 3 สูง ตอบโจทย์ความต้องการของ

ผู้บริโภค โดยมีงานวิจัยรองรับ ได้รับการรับรองมาตรฐานการเลี้ยงจาก NSF องค์กรชั้นนำด้านการรับรองความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ในระดับนานาชาติ และคว้ารางวัลสุดยอดนวัตกรรมอาหารจากงานแสดงสินค้าอาหารระดับโลก THAIFEX–Anuga Asia 2020 ด้วย

“หมูชีวา" จะเป็นต้นแบบของการยกระดับการผลิตเนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพ ครบคุณค่าทางอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย จะเจาะกลุ่มเป้าหมายผู้บริโภคที่รักสุขภาพโดยตรง ในช่วงแรก จะวางจำหน่ายที่เซ็นทรัล เดอะมอลล์ ฟู้ดแลนด์ วิลล่า และซีพีเฟรชมาร์ท ก่อน ส่วนการส่งออก นั้นจะพิจารราหลังจากนี้ ซึ่งตลาดที่ทำได้เลยคือฮ่องกง ที่ปัจจุบันส่งออกไก่เบญจาไปแล้ว และญี่ปุ่นในลักษณะสุกรแปรรูป

160208215630

สมพร เจิมพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ธุรกิจสุกร กล่าวว่า การผลิตสุกรแม่พันธุ์สุกรของในเครือซีพีเอฟทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในขณะนี้มีประมาณ 9 แสนตัว ถือเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากผู้ผลิตในจีน ที่มีกำลังการผลิตประมาณ 1 ล้านตัวขึ้นไป ซึ่งตัวเลขไม่ห่างกันมาก ดังนั้น ซีพีเอฟจึงมีโอกาสจะก้าวขึ้นเป็นอันดับที่ 2 ได้ แต่ทั้งนี้ ในอุตสาหกรรมสุกร ยังมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องโรคระบาดที่มาเร็วและแรง ทำให้ไม่สามารถคาดเดาสถานการณ์ล่วงหน้าได้อย่างชัดเจน ดังนั้น การวางแผนผลิตต้องพิจารณาไปตามสถานการณ์

สำหรับซีพีเอฟผลิตสุกรในประเทศไทย มีประมาณ 5 ล้านตัวต่อปี ยังครองสัดส่วนการตลาดอันดับที่ 1 จากการผลิตสุกรทั้งประเทศที่ 18 ล้านตัว โดยมีการเติบโตที่ 1-2 % สุกรที่ผลิตได้ ส่วนใหญ่จะใช้บริโภคภายในประเทศ การส่งออกมีบ้างในลักษณะของการแปรรูป ซึ่งจากการระบาดของโรค

อหิวาต์แอฟริกาในสุกร(ASF)ทำให้สุกรของจีนหายไปจากตลาดกว่า 200 ล้านตัว ส่งผลให้จีนต้องการนำเข้าเนื้อสุกรจากสหรัฐ โดยเข้าไปรับรองฟาร์มแล้ว แต่ไม่สามารถนำเข้าได้เพราะมีจากปัญหาสงครามทางการค้าและโควิด จึงหันไปนำเข้าจากเยอรมนีแทน แต่ก็มีปัญหาโควิดเช่นกัน

ปัจจุบัน จีนอยู่ระหว่างเจรจาเพื่อนำเข้าจากรัสเซีย ซึ่งจะเป็นโอกาสของ ซีพีเอฟที่ได้ตั้งฟาร์มเลี้ยงสุกรที่รัสเซียเช่นกัน นอกจากนี้ จีนยังเจรจากับไทย หากมีความเห็นชอบร่วมกันก็จะสามารถส่งออกได้ ทั้งนี้ หมูชีวา ของซีพีเอฟจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้บริโภค แม้ปัจจุบันยังไม่มุ่งเน้นเรื่องการส่งออก แต่หากตลาดมีความต้องการ ซีพีเอฟก็สามารถขยายกำลังการผลิตได้ โดยมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าเนื้อหมูปลอดภัยของซีพีเอฟ ประมาณ 10 %

“หมูชีวา คือการเลี้ยงที่ไม่ใช้สารชีวภาพเลย ในขณะที่ปลูกปลอดภัยจะมีการใช้วัคซีน แต่จะงดให้ ก่อนเข้าโรงชำแหละ 1 เดือน เพื่อให้เนื้อหมูปลอดภัยก่อนถึงมือผู้บริโภค “

ทั้งนี้ หมูชีวา ปัจจุบันมีกำลังการผลิตประมาณ 400-500 ตัวต่อวัน หากความต้องการของตลาดมากขึ้นทางซีพีเอฟก็พร้อมขยายกำลังการผลิต เนื่องจากมีฟาร์มพร้อมที่จะดำเนินการได้ทันที

เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ปี2564 ไทยจะผลักดันการส่งออกอาหารให้อยู่ในอันดับ 1 ใน 10 ของโลก จากปัจจุบันไทยส่งออกอาหารเป็นอันดับ 12 ของโลก ภายใต้นโยบายนำภาคเกษตรสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป้าหมายให้ประเทศเข้มแข็ง ทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ สถานการณ์โควิดทำให้โลกต้องการอาหารปลอดภัยทำให้ภาคเกษตรมีความสำคัญมากในการพลิกฟื้นประเทศของเรา ใครฟื้นเร็วกว่าคือได้เปรียบ เป็นโอกาสของธุรกิจ และของประเทศ

สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์  กล่าวว่า สำหรับหมูชีวา เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต และเป็นการเลี้ยงตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ ทั้งยังได้รับเครื่องหมายรับรองคุณภาพ‘ปศุสัตว์OK’

ไพรัตน์ ศรีชนะ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายงานวิชาการอาหารสัตว์บก ซีพีเอฟ กล่าว ด้วยความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมอาหารสัตว์ ทำให้อาหารของหมูชีวามีความพิเศษและแตกต่างจากอาหารหมูทั่วไป เนื่องจากใช้ซูเปอร์ฟู้ดอย่างเมล็ด flaxseed น้ำมันปลา และสาหร่ายทะเลลึก มาเป็นวัตถุดิบในสูตรอาหาร เพื่อเป็นแหล่งของโอเมก้า3 ให้หมูชีวาสามารถสะสมสร้างเป็นไขมันดีเพื่อสุขภาพได้สำเร็จ

นอกจากนี้ ได้เลี้ยงสุกรในเป็นโรงเรือนปรับอากาศและไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ 100% ตลอดการเลี้ยงดู จึงมั่นใจได้ว่าหมูชีวาปลอดภัยและเหมาะสมสำหรับผู้บริโภคทุกคน

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวยอดนิยม

ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์...

30 พฤศจิกายน 2558
16003

ณรงค์ เจียรวนนท์ รับรางวัล “Thailand Headlines Person of the year 2013...

27 พฤศจิกายน 2557
15357

สยามแลนด์ ฟลายอิ้ง เป็นปลื้ม “เมดิคอลวิงส์” (Medical Wings) บริการเครื...

29 กรกฎาคม 2558
12334

โลตัส ชูผลงานสนับสนุน SME และเกษตรกรเกือบ 7,000 รายตลอดทั้งปี 2564ตอกย...

29 ธันวาคม 2564
11190

แชร์ข่าวสาร

ส่อง 3 นวัตกรรมอาหารและเครื่องดื่มฝีมือคนไทย จากวัตถุดิบท้อง... “Meat Avatar” จับมือ “Makro” รุกตลาดอาหาร ส่ง “Plant-Based M...

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

โลตัส ชูผลงานสนับสนุน SME และเกษตรกรเกือบ 7,000 รายตลอดทั้งปี 2564ตอกย...

29 ธันวาคม 2564
11190

ร่วมสร้างระบบนิเวศ 5G ผ่าน ‘True 5G Innovation Community’ สู่การขับเคล...

29 ธันวาคม 2564
10891

101 ทรู ดิจิทัล พาร์ค ปลูกฝังแนวทางรักษ์โลกยั่งยืนแก่เยาวชน...

28 ธันวาคม 2564
9769

นักวิชาการ ออกมาย้ำเตือนผู้บริโภค ให้รู้จักวิธีการเลือกซื้อเนื้อสัตว์ ...

28 ธันวาคม 2564
9709

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th