“ศุภชัย เจียรวนนท์” กับบทบาท “ผู้ให้คำปรึกษา” บนเวที One Young World 2015 ในประเด็นปัญหาด้านการศึกษาระดับโลก พบมีความไม่เท่าเทียมกันในเพศ ชี้ “ความยากจน” คือต้นเหตุหนี่งที่สำคัญ พร้อมเสียงสะท้อนด้านการศึกษาจากมุมมองผู้นำรุ่นใหม่ One Young World 2015 ในโครงการซีพี สานฝัน ปันโอกาส
การศึกษาเป็น 1 ใน 6 ประเด็นปัญหาสำคัญระดับโลก(การศึกษา สิ่งแวดล้อม ธุรกิจระดับโลก สิทธิมนุษยชน ภาวะผู้นำและการปกครอง และสันติภาพกับความปลอดภัย)ที่นำมาถกเถียงเพื่อหาทางแก้ไขอย่างยั่งยืนในการประชุมสุดยอดผู้นำระดับโลก One Young World Summit 2015 ที่กรุงเทพมหานคร โดยในช่วงบ่ายของวันที่ 19 พฤศจิกายน 2558 ได้มีการจัดอภิปรายภายใต้หัวข้อ “Only education can close the gendor gap” หรือ “การศึกษาเท่านั้นที่สามารถปิดช่องว่างความไม่เท่าเทียมกันในเพศ” โดยผู้นำรุ่นใหม่จากประเทศจอร์แดน อูกันดา กัมพูชา ปากีสถาน และปาเลสไตน์ ร่วมนำเสนอปัญหาที่พวกเขาได้พบเจอในประเทศของตนเอง สะท้อนให้เห็นถึงอีกแง่มุมที่น่าสนใจเกี่ยวกับปัญหาด้านการศึกษาแก่ผู้เข้าฟังจากประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทย โดยการอภิปรายหัวข้อนี้มีผู้ให้คำปรึกษาจากประเทศต่างๆ ได้แก่ นายศุภชัย เจียรวนนท์ รองประธานกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และกรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น จากประเทศไทย John Simpson : BBC World Affairs Editor, Nadya Tolokonnikova, Pussy Riot : Member&PoliticalActivist, Jon Landua : Oscar Winning Produer of Titanic&Avatar
Saairah Farooq ผู้นำรุ่นใหม่จากปากีสถาน ซึ่งมีนายศุภชัยเป็นผู้ให้คำปรึกษา ได้กล่าวถึงปัญหาการศึกษาในประเทศปากีสถานว่ามี ผู้หญิงถูกกีดกันจากระบบการศึกษาโดยมีผู้หญิงราว30%เท่านั้นที่มีโอกาสได้รับการศึกษาในระดับสูงอัน เนื่องมาจากทัศนคติและค่านิยมของสังคมที่กำหนดผู้หญิงไว้สำหรับการดูแลครอบครัว และมีผู้หญิงเพียง 2% ที่มีโอกาสได้ทำงานในบริษัทใหญ่ๆแบบผู้ชาย เธอจึงใช้เวที One Young Worldแห่งนี้ในการเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงการรับรู้บทบาทของผู้หญิงในสังคมและปิดช่องว่างทางเพศโดยการให้โอกาสผู้หญิงได้รับการศึกษาที่ดี
บนเวที One Young World 2015 นี้เอง นายศุภชัย เจียรวนนท์ ได้แสดงอีกบทบาทที่นอกเหนือจากการเป็นนักธุรกิจ ทำให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ด้านสังคมที่เกี่ยวกับด้านการศึกษา โดยนายศุภชัยได้กล่าวชื่นชม Saairah Farooq ที่สามารถฝ่าฟันปัญหาความไม่เท่าเทียมกันทางเพศจนสำเร็จการศึกษาและสามารถเข้าทำงานในองค์กรใหญ่ได้ พร้อมบอกว่าโดยส่วนตัวแล้วเชื่อมั่นว่าผู้หญิงสามารถทำงานได้ไม่แพ้ผู้ชาย
นอกจากนี้นายศุภชัยได้สะท้อนมุมมองในเรื่องปัญหาด้านการศึกษาไว้อย่างน่าสนใจ “ผมมองว่าสาเหตุของปัญหาด้านการศึกษานั้น มีหลายประการ เรื่อง ความยากจนก็คือปัญหาประการหนึ่งที่สำคัญ ชุมชนที่ไม่มีเงินก็จะอ่อนแอไม่สามารถจัดหาโรงเรียนดีๆแก่เด็กๆได้ ดังนั้นต้องสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ชุมชน ซึ่ง Social Enterprise ก็เป็นวิธีหนี่งที่จะทำให้ชุมชนแข็งแกร่ง มีพลัง สามารถสนับสนุนด้านการศึกษาที่ดีต่อเด็กๆ มีโรงเรียนดี ๆ ฯลฯ ผมเห็นว่าเด็ก ๆ ก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จในการเรียนและการงาน แต่ที่สำคัญที่สุด การศึกษาที่ดี ต้องมี transparency หรือความโปร่งใส ผมเห็นว่า เทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ต ไม่เพียงแต่จะสามารถช่วยลดความไม่โปร่งใส่ทางการศึกษา แต่ยังสามารถลดความไม่เท่าเทียมทางการศึกษาได้อีกด้วย”
นางสาววรรณรัตน์ ยิ้มอิ่ม นักวิทยาศาสตร์อาวุโส ประจำห้องปฎิบัติการวิจัยและพัฒนา1สำนักเทคนิคและวิชาการสัตว์บก CPF ซี่งเป็น 1 ในผู้นำรุ่นใหม่ One Young World จากประเทศไทยในโครงการซีพีสานฝันปันโอกาส กล่าวว่า ในประเด็นปัญหาทั้ง 6 ประการบนเวที One Young World 2015 ได้แก่ การศึกษา สิ่งแวดล้อม ธุรกิจระดับโลก สิทธิมนุษยชน ภาวะผู้นำและการปกครอง และสันติภาพกับความปลอดภัย ในมุมมองของเธอเห็นว่าปัญหาด้านการศึกษาเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะการศึกษากับความยากจน เนื่องจากครอบครัวของตนเองมีผู้ประกอบอาชีพครูหลายคนจึงทราบดีว่าไม่ได้มีแค่ปัญหาเด็กไม่เข้าเรียน หรือเด็กไม่ตั้งใจเรียน แต่ปัญหาลึกกว่านั้นคือความยากจนทำให้เด็กต้องออกจากโรงเรียนเพื่อที่จะไปหาเลี้ยงครอบครัว สำหรับปีนี้ One Young World ให้ความสำคัญกับความไม่เท่าเทียมกันในเพศด้านการศึกษา ซึ่งพบว่าปัจจุบันยังมีการกีดกันสตรีเพศทางการศึกษา นอกจากนี้ในส่วนตัวคิดว่าเรื่องการศึกษากับผู้ลี้ภัยมันก็ยังเป็นอีกประเด็นที่น่าสนใจ
นางสาวจิรประภา สายธนู อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ผู้นำรุ่นใหม่ One Young World จากประเทศไทยในโครงการซีพีสานฝันปันโอกาส เปิดเผยว่า ในส่วนตัวสนใจเรื่องการการศึกษา เพราะมองว่าปัญหาทุกอย่างจะได้รับการแก้ไข หากทุกคนได้รับการศึกษาที่ดี ซึ่งในประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาสูงมาก มีเยาวชนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมกัน ดังนั้นเราจึงต้องแก้ไขปัญหาการศึกษาที่ไม่มีความเท่าเทียมกันก่อน
ด้าน นายจักรพันธ์ นิธิเกษมสมบัติ เจ้าหน้าที่จัดฝึกอบรม บรัษัท ซีพีเอฟเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ จำกัด 1 ในผู้นำรุ่นใหม่ One Young World จากประเทศไทยในโครงการซีพีสานฝันปันโอกาส ก็เป็นอีกคนที่สนใจประเด็นการศึกษา โดยกล่าวว่า ในหมู่บ้านที่ตนเกิดและเติบโตมาเป็นเด็กชาวเขาทั้งหมด ประชากรในหมู่บ้านมีเพียง 1,000 กว่าคน แต่คนที่จบการศึกษาปริญญาตรีมีแค่ 2 % ซึ่งก็เป็นปัญหาเพราะความยากจน เพราะนั้นจึงมีความคิดและความตั้งใจที่จะทำให้คนในหมู่บ้านมีการศึกษาที่ดีขึ้น
นี่คืออีกความเคลื่อนไหวที่น่าสนในบนเวที One Young World 2015 ซึ่งกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นที่ประเทศไทยระหว่าง 18-21 พ.ย.เพื่อสร้างพลังผู้นำรุ่นใหม่ของโลกให้กล้าคิด กล้าทำ เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้โลกมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน