• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

“สระฐินฟาร์ม” ฟาร์มเลี้ยงหมูขุน แบบประกันรายได้ หนึ่งในโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกรขุนแก่เกษตรกรรายย่อย ซีพีเอฟ เปลี่ยนชาวนาเป็นคนเลี้ยงหมู...สร้างรายได้ปีละล้าน ด้วยเทคโนโลยีสร้างอาชีพยั่งยืน


10 สิงหาคม 2558

ชาวนาที่ต้องตรากตรำกรำแดดฝน หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน คือภาพในอดีตของ สระฐิน พิมพ์โพชา ที่พอจำความได้ก็จับเคียวเกี่ยวข้าวเป็นแล้ว จนแทบไม่มีความคิดว่าจะทำอาชีพอื่นได้ จนกระทั่งวันหนึ่งเขาเห็นเพื่อนบ้านตั้งฟาร์มเลี้ยงหมู ซึ่งตอนแรกเขาก็ยังไม่สนใจ จนเมื่อฟาร์มขยายจากหลังแรกสู่หลังที่สอง สระฐินจึงเริ่มอยากรู้ว่าทำไมเขาถึงทำได้ 

“ผมทำนาเกี่ยวข้าวอยู่ที่นาที่ติดกับฟาร์มหมูของนายตำรวจ ก็สงสัยว่าเขาขยายฟาร์มเพิ่มในเวลาไม่นาน จึงเข้าไปขอความรู้จากทางฟาร์มและปรึกษากับสัตวบาลของซีพีเอฟด้วย พร้อมทั้งได้ไปดูฟาร์มหมูของเพื่อนเกษตรกร ตอนนั้นผมถามทุกอย่างที่สงสัยทำให้รู้ระบบทุกอย่าง และมองเห็นโอกาสกับความเป็นไปได้ของอาชีพจึงตัดสินใจเปลี่ยนที่นาเป็นฟาร์มหมูทันที” สระฐิน กล่าวถึงที่มาของ “สระฐินฟาร์ม” ตำบลนาดี  อำเภอนาดี  จังหวัดปราจีนบุรี ฟาร์มเลี้ยงหมูขุน แบบประกันรายได้ ในโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกรขุนแก่เกษตรกรรายย่อย กับบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ

สระฐิน บอกว่า ก่อนจะเริ่มต้นนั้นเขากลัวว่าจะไม่สามารถกู้เงินกับธนาคารมาลงทุนได้ เพราะตนเองเป็นเพียงชาวนาที่ไม่ได้มีเครดิตอะไร แต่ก็ได้ตัวเทนจากซีพีเอฟช่วยให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน ทำให้มีเงินในการเริ่มต้นอาชีพ จากนั้นจึงได้ทำการแบ่งพื้นที่นา 8 ไร่ จากจำนวน 80 ไร่ที่มีอยู่ นำมาปรับพื้นที่ทำเป็นฟาร์มหมูมาตรฐานในระบบอีแวป เมื่อปี 2548 จำนวน 1 โรงเรือน เลี้ยงหมูขุน 700 ตัว 

ช่วงแรกของการเลี้ยงหมูสระฐินบอกว่าเขาต้องเรียนรู้หลายอย่าง เพราะที่ผ่านมาเคยแต่ทำนาไม่เคยเลี้ยงหมูมาก่อน แต่ทั้งหมดก็ไม่เกินความพยายามของตนเอง เขาเปิดรับความรู้และเทคนิควิชาการที่สัตวบาลของบริษัทมาถ่ายทอด พยายามค้นคว้าข้อมูลใหม่ๆด้วยตนเอง ทุกครั้งที่สัตวแพทย์มาตรวจเยี่ยมฟาร์มเขาก็จะคอยซักถามข้อมูลความรู้อยู่เสมอ ทำให้การเลี้ยงหมูพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงมีรายได้ที่แน่นอน ในปี 2550 เขาจึงตัดสินใจสร้างโรงเรือนเลี้ยงหมูเพิ่มอีก 1 หลัง ความจุ 650 ตัว โดยให้พี่ชายมาดูช่วยกันดูแล 

“ผมเคยสงสัยว่าทำไมเพื่อนเกษตรกรที่เลี้ยงหมูเขาถึงขยายฟาร์มได้ในเวลาไม่นาน จนเมื่อตัวเองได้มาทำอาชีพนี้เองจึงรู้ว่า อาชีพนี้มีโอกาสที่จะเติบโตได้ ผมมองเห็นโอกาสนั้นก็เลยขยายฟาร์มเพิ่มเติม เพราะเราไม่มีความเสี่ยงในทุกทาง ทั้งเรื่องการหาวัตถุดิบพันธุ์หมู อาหารหมู ที่สำคัญคือไม่เสี่ยงกับการหาตลาดเพราะทั้งหมดนั้นบริษัทเป็นคนรับผิดชอบแทน พอปิดรุ่นการเลี้ยงทุก 5 เดือนผมสามารถคำนวณรายได้ที่จะได้รับ ผมมีเงินเก็บ ไม่เหมือนตอนทำนาที่ส่วนใหญ่คือทำได้แค่พอกิน ขายข้าวก็ไม่ได้ราคา แถมต้องมาเหนื่อยกายกับงานและเหนื่อยใจกับหนี้สิน” สระฐิน กล่าว

นอกจากการเลี้ยงหมูที่เดินหน้าไปเป็นอย่างดีจนเขาสามารถคืนเงินที่กู้จากสถาบันการเงิน สำหรับการลงทุนสร้างโรงเรือนหลังแรกได้เรียบร้อยแล้ว ส่วนโรงเรือนหลังที่สองยังเหลือยอดเงินกู้อีกไม่มากนัก ขณะเดียวกันเขายังมองเลยไปถึงเรื่องสภาพแวดล้อมของฟาร์มหมูที่ต้องไม่กระทบกับชุมชนรอบข้าง จึงได้จัดทำระบบบำบัดของเสียภายในฟาร์มด้วยระบบไบโอแก๊ส ทำให้สามารถเปลี่ยนขี้หมูที่คนอื่นมองว่าเป็นของเสีย ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้ากลับมาใช้ภายในฟาร์ม ช่วยลดต้นทุนการผลิตด้านพลังงานได้ถึงกว่า 50% จากที่เคยเสียค่าไฟฟ้ากว่า 50,000 บาทต่อรุ่นการเลี้ยง ปัจจุบันจ่ายค่าไฟเพียง 20,000 กว่าบาทเท่านั้น เมื่อต้นทุนต่ำลง ก็เท่ากับรายได้ที่มากขึ้นตามไปด้วย 

“สิ่งที่ผมยึดมั่นในการทำงานมาตลอด คือ การดูแลหมูให้เหมือนกับดูแลลูก ถ้าเลี้ยงเขาดีเขาก็ต้องโตดี ผลผลิตก็จะดี และถ้าคิดว่าทุกอย่างนั้นเป็นของเรา หากเรามีความเป็นเจ้าของกับผลผลิตทั้งหมด เราก็จะไม่ทิ้งขว้าง เห็นอะไรที่ช่วยให้ต้นทุนต่ำได้เราก็จะทำ อย่างอาหารที่ให้ก็ต้องให้อย่างดีพยายามอย่าให้หกหล่น ถ้าดูแลหมูอย่างใกล้ชิดก็ทำให้เห็นหมูเริ่มมีอาการซึมๆได้เร็วจะได้รีบแยกออกมาดูแลเป็นพิเศษ เท่านี้ก็จะทำให้ได้หมูที่แข็งแรงสมบูรณ์เหมือนกันทั้งหมด คนที่ได้ประโยชน์ที่สุดก็คือผู้บริโภคที่จะได้รับของดีไปรับประทาน พวกนี้คือความภูมิใจของคนเลี้ยงหมู” สระฐิน กล่าวอย่างภูมิใจ

วันนี้หมู 1,350 ตัว สร้างรายได้ให้กับสระฐินและพี่ชายรุ่นละ 5 แสนบาท เปลี่ยนอดีตชาวนามาเป็นคนเลี้ยงหมูที่ได้จับเงินปีละล้าน ไม่ต้องตรากตรำกรำแดดฝน ไม่ต้องตะลอนไปทำงานก่อสร้างเพื่อเป็นรายได้เสริมในช่วงว่างจากการทำนาปีอย่างเมื่อก่อน และสิ่งที่สระฐินภูมิใจที่สุดคือสามารถส่งลูกทั้ง 4 คนเรียนจบได้ตามความสามารถของพวกเขา และก็กำลังจะส่งต่อความสำเร็จให้ลูกชายที่เข้ามาช่วยพ่อดูแลกิจการเลี้ยงหมูให้ยั่งยืนต่อไป

ข่าวยอดนิยม

เครือเจริญโภคภัณฑ์ประกาศปิดบริการชั่วคราว ร้านซีพีเฟรชมาร์ท ร้านเซเว่น...

16 ตุลาคม 2560
388130

“ธนินท์ เจียรวนนท์” ประธานอาวุโส เครือซีพี ทุ่ม 100 ล้านบาท เร่งสร้าง...

05 มีนาคม 2563
55513

เครือเจริญโภคภัณฑ์ทั่วโลก จัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายและพิธีร่วมน้อมสำน...

12 ตุลาคม 2560
35595

สาวแบงค์ทิ้งเงินเดือนหลักหมื่น สู่เถ้าแก่เล็กฯตู้หมูชุมชน เปลี่ยนรายได...

05 เมษายน 2561
31109

แชร์ข่าวสาร

ทรู ชวนบอกรักแม่ มอบดอกมะลิ พร้อมสิทธิพิเศษลูกค้าทรูมูฟ เอช ... ผู้บริหารและพนักงาน เครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมกิจกรรมปั่นจักรยา...
  • CPF
  • ซีพีเอฟ
  • ฟาร์มสุกร

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

“ซีพี โซเชียลอิมแพคท์” จับมือ“เกษตรภัณฑ์อุตสาหกรรม” รับนโยบายมอบฟ้าทะล...

27 ธันวาคม 2564
10586

เครือซีพี มุ่งมั่น ร้อยเรียงความดี มอบหน้ากากอนามัยซีพีหนุนภารกิจ ก.เก...

18 ธันวาคม 2564
2840

เครือซีพี ร้อยเรียงความดีสู่สังคม มอบผ้าห่ม  2,000 ผืน ส่งต่อความอบอุ่...

18 ธันวาคม 2564
3362

ซีพีร้อยเรียงความดีส่งมอบยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรจากโครงการ ซีพี ปันปลูกฟ้...

17 ธันวาคม 2564
2278

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th