ระหว่างเดือนเมษายน และพฤษภาคม 2558 เครือเจริญโภคภัณฑ์ จัดอมรบเจ้าหน้าที่และพนักงานของกลุ่มธุรกิจต่าง ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ในทุกพื้นที่ทั้งภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ โดยการอบรมดังกล่าวเป็นการฝึกอบรมจากวิทยากรอาสาสมัครช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานของเครือเจริญโภคภัณฑ์ CP CPR VOLUNTEER นำทีมโดยคุณปุณฑริกา ลินฮาท ผู้บริหารสำนักบริหารโครงการพิเศษ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และเป็นการฝึกอบรมร่วมกับวิทยากรจากศูนย์ฝึกอบรมปฐมพยาบาลและสุขภาพอนามัย สภากาชาดไทย ตามโครงการเครือเจริญโภคภัณฑ์ส่งเสริมคุณภาพชีวิต การปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR) ซึ่งนายวัลลภ เจียรวนนท์ รองประธานกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ มีนโยบายชัดเจนที่ต้องการมุ่งเน้นให้เจ้าหน้าที่และพนักงานทุกคน รู้จักวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และช่วยฟื้นระบบหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิตเมื่อเกิดภาวะการหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น หรือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR) เพื่อนำความรู้ไปช่วยเหลือคนรอบข้าง ทั้งคนในครอบครัวและสังคมโดยรวม
ตลอดระยะเวลา 2 เดือนมีทั้งเจ้าหน้าที่และพนักงานของกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้นกว่า 500 คน จำนวน 15 รุ่น
การอบรมในช่วงเช้า ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้ถึงวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในกรณีที่ศีรษะแตก ,แขนหัก ,มีบาดแผลเลือดไหล, และอวัยวะตัดขาด ว่าถ้าเราพบเห็นผู้ได้รับบาดเจ็บกรณีดังกล่าวควรทำอย่างไรให้ผู้ป่วยปลอดภัยก่อนที่จะนำส่งโรงพยาบาล โดยผู้เข้าอบรมได้ลงมือฝึกปฏิบัติจริง
หลังจากนั้นเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการช่วยชีวิตตัวเองและการช่วยชีวิตผู้อื่น ในกรณีที่เกิดการสำลักหรือสิ่งแปลกปลอมติดบริเวณหลอดลม ทางเดินหายใจ โดยวิธีการช่วยชีวิตนั้นจะมีวิธีที่แตกต่างกันออกไป โดยแบ่งจากช่วงอายุของคน คือ วัยทารก(อายุต่ำกว่า1ปี) วัยเด็ก(อายุ1-8ปี) และผู้ใหญ่(อายุ8ปีขึ้นไป)
การอบรมในช่วงบ่าย ผู้เข้าอบรมจะต้องเข้าฐานกิจกรรม เพื่อลงมือฝึกปฏิบัติการช่วยชีวิตผู้ใหญ่ในกรณีที่หมดสติ ไม่หายใจ ซึ่งทุกคนจะได้เรียนรู้ตามขั้นตอน 5 ป. ในกรณีผู้ใหญ่อายุ 8 ปีขึ้นไป ป1-ประเมินความปลอดภัยก่อนให้การช่วยเหลือ ป2-ปลุก เรียกผู้หมดสติไม่หายใจ ป3-ประกาศขอความช่วยเหลือจาก 1669. ป4-ปั๊ม กดหน้าอก 30 ครั้ง กดลึกอย่างน้อย 2 นิ้วฟุต ความเร็ว 100ครั้งต่อนาที ป5-เป่าปาก การเป่าปากผู้หมดสติไม่หายใจ ด้วยการใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้บีบรูจมูก ส่วนมืออีกด้านใช้2นิ้วเปิดทางเดินหายใจ และเป่าปากโดยปากเราครอบปากผู้หมดสติไม่หายใจให้สนิท เป่าปาก2ครั้ง ครั้งละ1วินาที
การช่วยชีวิตทารกอายุไม่เกิน 1 ปี ในกรณีที่หมดสติไม่หายใจ ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอน 5 ป. ป1-ประเมินความปลอดภัยก่อนให้การช่วยเหลือ ป2-ปลุก เรียกเด็กทารกเรียกหนู หนู พร้อมทั้งใช้มือตบที่ฝ่าเท้า ป3-ปั๊ม กดหน้าอก 30 ครั้งโดยใช้ 2 นิ้วกด กดลึกอย่างน้อย 1/3 ของทรวงอกเด็กทารก ความเร็ว 100ค รั้งต่อนาที ป4-เป่าปาก การเป่าปากเด็กทารกให้ปากผู้ช่วยเหลือครอบจมูกและปากของเด็กทารกให้สนิท เป่าปาก2ครั้ง ครั้งละ1วินาที ป5-ประกาศขอความช่วยเหลือจาก 1669.
พร้อมกันผู้ผู้อบรมต้องฝึกปฏิบัติกรณีการสำลัก มีสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ โดยฝึกปฏิบัติกรณีช่วยเหลือตัวเองและการให้ความช่วยเหลือผู้อื่น เพื่อป้องกันสำหรับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดในชีวิตประจำวัน และการช่วยชีวิตทารกในกรณีที่สิ่งแปลกปลอมติดช่องทางเดินหายใจ
เรื่อง-ภาพ ; ภรธน จันทร์สว่าง สำนักบริหารโครงการพิเศษ เครือเจริญโภคภัณฑ์