• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

ก.มหาดไทย ร่วมกับ คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ดึงโมเดิร์นเทรดชั้นนำ หนุนเศรษฐกิจชายแดนภาคใต้ นำร่องโครงการ


14 กันยายน 2559

14 กันยายน 2559 – กระทรวงมหาดไทย  ร่วมกับ คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ  สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ   มูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท และศูนย์การค้าเดอะสตรีท รัชดา จัดโครงการ “ลองกองผลไม้ดีชายแดนใต้” ระหว่างวันที่ 1-31 ตุลาคม 2559 จำหน่ายลองกองอร่อย คุณภาพดีจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส  และจังหวัดปัตตานี  เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบข้อดีของการบริโภคลองกอง ที่เป็นผลไม้ที่อร่อย มีคุณค่าทางโภชนาการ นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน  เพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลผลิตลองกองของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพผลผลิตไปยังห้างค้าปลีกในเครือข่ายภาคีความร่วมมือ โดยผนึกกำลังร่วมกับผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่ (Modern Trade) ชั้นนำของประเทศไทย  รวมทั้งรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้เดือนตุลาคมเป็นเดือนแห่งการบริโภคลองกอง สำหรับประชาชนที่สนใจสามารถอุดหนุนผลผลิตลองกองของพี่น้อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้จากร้านค้าปลีกค้าส่งชั้นนำทั่วประเทศ  

พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานภาครัฐ คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ (E3) เปิดเผยว่า “ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้มีหลายมิติ ความยากจนเป็นหนึ่งในมิติสำคัญ ที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไข โดยเฉพาะชาวสวนผลไม้ซึ่งเป็นเกษตรกรรายย่อย  มีฐานะยากจน ประสบปัญหาขายผลผลิตไม่ได้ราคา  สำหรับผลผลิตของเกษตรกรชาวใต้ที่กำลังทยอยออกสู่ตลาดได้แก่ ลองกอง ซึ่งมีแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ ได้แก่ ชุมพร ยะลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี นราธิวาส และปัตตานี  รัฐบาลมีความห่วงใยและตระหนักต่อปัญหาดังกล่าว จึงได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเข้ามาช่วยเหลือแก้ไขปัญหา โดยใช้กลไกประชารัฐและแนวทางการมีวิสาหกิจเพื่อสังคมเข้าไปดูแลสร้างความยั่งยืน ซึ่งทางกระทรวงมหาดไทยได้ร่วมกับคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ (E3)  ซึ่งถือเป็น 1 ใน 12 คณะภายใต้โครงการสานพลังประชารัฐที่มุ่งเน้นการบูรณาการ
ทั้ง 5 ภาคส่วน  ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ  ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน มาทำงานร่วมกัน เพื่อช่วยเหลือชุมชน ตั้งแต่ต้นทาง  กลางทาง และปลายทาง กล่าวคือ  การเข้ามาช่วยเหลือดูแลครบทั้ง 5 กระบวนการตามหลักการทำงานของคณะทำงานฯ  ได้แก่ 1. การเข้าถึงปัจจัยการผลิต จัดหาแหล่งน้ำ  แหล่งเงินทุน รวมทั้งพัฒนาพันธุ์  2. การให้องค์ความรู้เกี่ยวกับการเพาะปลูก  การดูแลพันธุ์  3. การตลาด ได้เข้ามาช่วยเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายด้วยการจับมือกับโมเดิร์นเทรดชั้นนำของประเทศไทย  4. การสร้างการรับรู้เพื่อความยั่งยืน ด้วยการทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบถึงฤดูผลผลิตของลองกอง ซึ่งจะมีมากในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ของทุกปี  รวมทั้งร่วมรณรงค์ให้ตลอดเดือนตุลาคมเป็นเดือนแห่งการบริโภคลองกอง  5. การบริหารจัดการ  ทั้งเรื่องของการขนส่ง  การทำบรรจุภัณฑ์ การดูแลเก็บรักษาผลผลิตไม่ให้เน่าเสีย เป็นต้น  

นอกจากนี้ยังได้ประสานกับสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระสืบสานตามแนวพระราชดำริ และมูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท  แสวงหาความร่วมมือในการพัฒนาระบบการผลิตและการตลาดผลไม้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นำร่องโครงการ “ลองกอง ผลไม้ดีชายแดนใต้” จากจังหวัดนราธิวาส  ปัตตานี และยะลา ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน จากการสานพลังประชารัฐทั้ง 5 ภาคส่วนเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน  โดยมีเป้าหมายสำคัญคือความมั่นคง ความสงบสุข  และการกินดี อยู่ดีของประชาชน   โดยโครงการนี้มีเกษตรกรผู้ปลูกลองกองจาก 3 จังหวัดชายแดนใต้สมัครใจเข้าร่วมโครงการประมาณ 6,000 ราย ถือเป็นกลุ่มเกษตรกรนำร่องกลุ่มแรกซึ่งจะเป็นตัวอย่างที่ดีในการนำไปสู่การทำเกษตรรูปแบบใหม่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือทำการเกษตรแบบประณีต เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพดีสามารถขายได้ตามกลไกตลาด โดยประชาชนที่สนใจสามารถอุดหนุนผลผลิตลองกองของพี่น้อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้จากร้านค้าปลีกค้าส่งชั้นนำทั่วประเทศไทย” 

นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ (E3)  เปิดเผยว่า “โครงการ “ลองกองผลไม้ดีชายแดนใต้” เกิดขึ้นจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน และจากพลังประชารัฐเพื่อเป้าหมายสำคัญคือความมั่นคง ความสงบสุข  และการกินดี อยู่ดีของประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการพัฒนาระบบตลาดที่ไม่กระทบกลไกตลาดเดิม แต่จะช่วยหนุนเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกลองกองสามารถกระจายผลผลิตได้ ซึ่งคณะทำงานฯ ได้ประสานความร่วมมือไปยังผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่ในการเข้ามารับซื้อผลผลิตลองกองจากเกษตรกรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมส่งเสริมให้เดือนตุลาคมเป็นเดือนแห่งการบริโภคลองกองของจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยประชาชนที่สนใจสามารถอุดหนุนผลผลิตลองกองของพี่น้อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้จากร้านค้าปลีกค้าส่งชั้นนำทั่วประเทศ”

ในการดำเนินโครงการลองกองผลไม้ดีชายแดนใต้ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่ รวมถึงองค์กร บริษัท และหน่วยงานต่าง ๆ ในการเป็นช่องทางการจำหน่ายลองกองจาก 3 จังหวัดชายแดนใต้จำนวน 3,244 ตัน โดยเครือเจริญโภคภัณฑ์รับไปทั้งสิ้น 1,000 ตันซึ่งจะนำไปจำหน่ายผ่านห้างแมคโคร จำนวน 750 ตัน และร้าน 7 อีเลฟเว่น จำนวน 250 ตัน เทสโก้โลตัส รับไปทั้งสิ้น 915 ตัน ท๊อปส์ในเครือเซ็นทรัลรับไป 450 ตัน  บิ๊กซีซึ่งเป็นของกลุ่มไทยเบฟเวอเรจรับไป 215 ตัน กูร์เมต์ มาร์เก็ต ในเครือเดอะมอลล์รับไป 50 ตัน  นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมจำหน่ายลองกองผลไม้ชายแดนใต้อีก ได้แก่ ไทยเบฟเวอเรจ รับไป 100 ตัน  สภาเกษตรกรฯ 200 ตัน  ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 100 ตัน มูลนิธิปิดทองหลังพระ  75 ตัน   ไปรษณีย์ไทย 40 ตัน  สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  30 ตัน  มหาวิทยาลัยบูรพา 20 ตัน และนายมีชัย วีระไวทยะ 3 ตัน

นายณรงค์ วุ่นซิ้ว หัวหน้าคณะทำงานสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบของสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  เปิดเผยว่า “การพัฒนาผลผลิตและการตลาดผลไม้โดยเฉพาะลองกองตามนโยบายประชารัฐในครั้งนี้ เป็นการดำเนินการอย่างครบวงจรด้วยความร่วมมือของทุกฝ่าย  ตั้งแต่ต้นทาง คือ ส่งเสริมให้เกิดทำการเกษตรแบบประณีต เพื่อพัฒนาคุณภาพผลผลิตลองกองให้เป็นเกรด A และ B กลางทาง คือ ศูนย์คัดแยก และพ่อค้าคนกลาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพจุดรวบรวมและคัดแยกผลผลิตลองกอง จนถึงปลายทาง คือ ผู้บริโภค โดยการหาช่องทางการขายเพื่อกระจายผลผลิตสู่ผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด  ทั้งนี้เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่และส่งเสริมอาชีพ เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชนสอดคล้องกับเจตนารมย์ของสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ โดยปัจจุบันมีเกษตรกรผู้ปลูกลองกองเข้าร่วมโครงการ 5,960 รายจากจำนวนเกษตรกรทั้งหมด 71,891 รายซึ่งคิดเป็น 8% ของจำนวนเกษตรกร คิดเป็นผลผลิตทั้งสิ้น 3,244 ตัน  หรือประมาณ13% ของปริมาณผลผลิตลองกองทั้งหมดในจังหวัดชายแดนได้ โดยจังหวัดปัตตานีมีเกษตรกรเข้าร่วม 1,730 ราย ผลผลิต 693.24 ตัน จังหวัดยะลา 981 ราย ผลผลิต  551.70 ตัน และจังหวัดนราธิวาส  3,249 ราย ผลผลิต 1,998.79 ตัน”

ข่าวยอดนิยม

เครือเจริญโภคภัณฑ์ประกาศปิดบริการชั่วคราว ร้านซีพีเฟรชมาร์ท ร้านเซเว่น...

16 ตุลาคม 2560
388264

“ธนินท์ เจียรวนนท์” ประธานอาวุโส เครือซีพี ทุ่ม 100 ล้านบาท เร่งสร้าง...

05 มีนาคม 2563
55663

เครือเจริญโภคภัณฑ์ทั่วโลก จัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายและพิธีร่วมน้อมสำน...

12 ตุลาคม 2560
35677

“สระฐินฟาร์ม” ฟาร์มเลี้ยงหมูขุน แบบประกันรายได้ หนึ่งในโครงการส่งเสริม...

10 สิงหาคม 2558
34273

แชร์ข่าวสาร

ซีพี ร่วมกับ แบงค็อก ยูไนเต็ด สานฝัน...ปันโอกาส ปั้นเยาวชน เ... โครงการ “ซีพี สานฝัน ปันโอกาส” ส่ง 20 ผู้นำรุ่นใหม่ บินตรงสู...
  • CP Group
  • เครือเจริญโภคภัณฑ์
  • ประชารัฐ
  • ลองกอง

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

“ซีพี โซเชียลอิมแพคท์” จับมือ“เกษตรภัณฑ์อุตสาหกรรม” รับนโยบายมอบฟ้าทะล...

27 ธันวาคม 2564
10731

เครือซีพี มุ่งมั่น ร้อยเรียงความดี มอบหน้ากากอนามัยซีพีหนุนภารกิจ ก.เก...

18 ธันวาคม 2564
2972

เครือซีพี ร้อยเรียงความดีสู่สังคม มอบผ้าห่ม  2,000 ผืน ส่งต่อความอบอุ่...

18 ธันวาคม 2564
3501

ซีพีร้อยเรียงความดีส่งมอบยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรจากโครงการ ซีพี ปันปลูกฟ้...

17 ธันวาคม 2564
2390

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th